วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ระบบการสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์



3.1 ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
             ความหมาย ระบบการโอนถ่ายข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางหรือปลายทางโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โมเด็ม คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ ดาวเทียม ควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง






3.2 องค์ประกอบระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 


3.2.1 ข่าวสาร (Message) เป็นข้อมูลรูปแบบต่างๆ 
3.2.2 ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) 
3.2.3 สื่อหรือตัวกลาง (Media) เป็นสื่อหรือช่องทาง ที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง 
3.2.4 ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) 
3.2.5 กฎ ข้อตกลง ระเบียบวิธีการรับส่ง(protocol)



3.3 สื่อหรือตัวกลางของระบบสือสารข้อมูลสำหรับคอมพิวเตอร์ 

3.3.1 สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย
3.3.1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair) มี 2 ชนิด คือ

ก) สายคู่บิดเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP)







ข) สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair :STP)




3.3.1.2 สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นสื่อกลางที่มีส่วนของสายส่งข้อมูลเป็นลวดทองแดงอยู่ตรงกลาง หุ้มด้วยพลาสติก ส่วนชั้นนอกหุ้มด้วยโลหะหรือฟอยล์ถักเป็นร่างแหเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน 









3.3.1.3 สายใยแก้วนำแสง (Fiber-optic cable) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งข้อมูลในรูปแบบของแสง






3.3.2 สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย
3.3.2.1 คลื่นไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารที่มีความเร็วสูง ส่งข้อมูลโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟซึ่งเป็นสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลกันมากๆ หรือพื้นที่ทุรกันดาร 
3.3.2.2 ดาวเทียม (Satellite) ในการส่งสัญญาณดาวเทียมนั้น จะต้องมีสถานีภาคพื้นดินคอยทำหน้าที่รับและส่งสัญญาณขึ้นไปบนดาวเทียม 
3.3.2.3 แอคเซสพอยต์ (Access Point)





3.4 ความหมายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน

3.5 ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.5.1 การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
3.5.2 การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
3.5.3 สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
3.5.4 สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ
3.5.5 มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)

3.6 ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์        
3.6.1 เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ




3.6.2 เครือข่ายเมือง (Metropolises Area Network :MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN



3.6.3 เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานนีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม



3.6.4 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้






3.7 รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่าย (network topology)       
3.7.1 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส (bus network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่ปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Terminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใด เครื่องหนึ่ง เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย การรับส่งสัญญาณบนสายสัญญาณต้องตรวจสอบสายสัญญาณ BUS ให้ว่างก่อน จึงจะสามารถส่งสัญญาณไปบนสาย BUS ได้


3.7.2 การเชื่อต่อเครือข่ายแบบวงแหวน (ring network) การเชื่อมต่อแบบวงแหวน เป็นการเชื่อมต่อจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง จนครบวงจร ในการส่งข้อมูลจะส่งออกที่สายสัญญาณวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่เครื่องหนึ่งจนกว่าจะถึงเครื่องปลายทาง ปัญหาของโครงสร้างแบบนี้คือ ถ้าหากมีสายขาดในส่วนใดจะทำ ให้ไม่สามารถส่งข้อมูลได้


3.7.3 การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบดาว (Star network) เป็นการเชื่อมต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องไปยังฮับ (hub) หรือ สวิตช์ (switch) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สลับสายกลางแบบจุดต่อจุดเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อ วงจรเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อสื่อสารถึงกัน


3.7.4 เครือข่ายแบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกัน


3.8 อุปกรณ์เครือข่าย


3.8.1 ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่นให้ได้ระยะทางที่ยาวไกลขึ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลก่อนและหลังการรับส่งและไม่มีการใช้ซอฟแวร์ใด ๆ มาเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ชนิดนี้ การติดตั้งทำได้ง่าย


3.8.2 โมเด็ม (modem) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาล็อก(Analog signal)ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล (Digital Signal)และในทางกลับกันก็แปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอนาล็อก


3.8.3 การ์ด LAN (Network Interface Card – NIC) เป็นการ์ดสำหรับต่อเครื่องพีซีเข้ากับสาย LAN


3.8.4 สวิตช์ (Switching) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระจายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางการสื่อสารข้อมูลหลายช่องทางในระบบเครือข่ายคล้ายHubแต่ต่างกันในเรื่องของกรทำงานและความเร็ว คือ แต่ละช่องสัญญาณ (port) จะใช้ความเร็วเป็นอิสระต่อกันตามมาตรฐานความเร็ว

3.8.5 เราท์เตอร์ (router) เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายหลายเครือข่ายที่มีขนาดต่างกันหรือใช้มาตรฐานการส่งผ่านข้อมูล (Transmission) ต่างกันสามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้



3.9 โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอล คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลชนิดเดียวกันซึ่งสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้เหมือนกับมนุษย์ที่ใช้ภาษาเดียวกันในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันนั่นองค์กรที่เกี่ยวข้องได้กำหนดโปรโตคอลที่เรียกว่ามาตรฐานการจัดการระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด (Open System International :OSI)



OSI Model


                 Application Layer ชั้นที่ 7 เป็นชั้นที่อยู่ใกล้ผู้ใช้มากที่สุดโดยเป็นชั้นแอปพลิเคชันของ OSI มีปฏิสัมพันธ์กันโดยตรงกับผู้ใช้ด้วยซอร์ฟแวร์แอปพลิเคชัน ฟังก์ชันของชั้นนี้จะรวมถึงการระบุคู่ค้าการสื่อสาร โดยพิจารณาตัวตนและความพร้อมของคู่ค้าสำหรับการประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่จะส่ง 
Presentation Layer ชั้น ที่ 6 เป็นชั้นที่รับผิดชอบเรื่องรูปแบบของการแสดงผลเพื่อโปรแกรมต่างๆที่ใช้งาน ระบบเครือข่ายทำให้ทราบว่าข้อมูลที่ได้เป็นประเภทใด เช่น [รูปภาพ, เอกสาร, ไฟล์วีดีโอ]
Session Layer ชั้นที่ 5 ทำหน้าที่ในการจัดการกับเซสชั่นของโปรแกรม ชั้นนี้เองที่ทำให้ในหนึ่งโปรแกรมยกตัวอย่างเช่น โปรแกรมค้นดูเว็บ (Web browser) สามารถทำงานติดต่ออินเทอร์เน็ตได้พร้อมๆกันหลายหน้าต่าง
                   Transport Layer ชั้นที่ 4 ทำหน้าที่ดูแลจัดการเรื่องของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร ซึ่งการตรวจสอบความผิดพลาดนั้นจะพิจารณาจากข้อมูลส่วนที่เรียกว่า checksum และอาจมีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นๆ โดยพิจารณาจาก ฝั่งต้นทางกับฝั่งปลายทาง (End-to-end) โดยหลักๆแล้วชั้นนี้จะอาศัยการพิจารณาจาก พอร์ต (Port) ของเครื่องต้นทางและปลายทาง
Network Layer ชั้นที่ 3 เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่จะส่ง-รับในการส่ง ผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะ ต้องมีเส้นทางการส่ง-รับข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง
                  Data Link Layer ชั้นที่ 2 จะเป็นเสมือนผู้ตรวจสอบ หรือควบคุมความผิดพลาดในข้อมูลโดยจะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นแพ็กเกจหรือ เฟรม ถ้าผู้รับได้รับข้อมูลถูกต้องก็จะส่งสัญญาณยืนยันกลับมาว่า ได้รับข้อมูลแล้ว เรียกว่า สัญญาณ ACK (Acknowledge) ให้กับผู้ส่ง แต่ถ้าผู้ส่งไม่ได้รับสัญญาณ ACK หรือได้รับ สัญญาณ NAK (Negative Acknowledge) กลับมา ผู้ส่งก็อาจจะทำการส่งข้อมุลไปให้ใหม่ อีกหน้าที่หนึ่ง ของเลเยอร์ชั้นนี้คือป้องกันไม่ให้เครื่องส่งทำการส่งข้อมูลเร็วจนเกินขีด ความสามารถของเครืองผู้รับจะรับข้อมูลได้
                   Physical Layer เป็นชั้นล่าง ที่สุดของการติดต่อสื่อสาร แต่เป็นชั้นแรกของสื่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำหน้าที่ส่ง-รับข้อมูลจริง ๆ จากช่องทางการสื่อสาร (สื่อกลาง) ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ มาตรฐานสำหรับ เลเยอร์ ชั้นนี้จะกำหนดว่าแต่ละคอนเนคเตอร์ (Connector) เช่น RS-232-C มีกี่พิน(pin) แต่ละพินทำหน้า ที่อะไรบ้าง ใช้สัญญาณไฟกี่โวลต์ เทคนิคการมัลติเพล็กซ์แบบต่างๆ ก็จะถูกกำหนดอยู่ในเลเยอร์ชั้นนี้ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งแบบที่ใช้สายหรือไม่ใช้สาย ตัวอย่างของสื่อที่ใช้ได้แก่ Shield Twisted Pair (STP), Unshield Twisted Pair (UTP), Fibre Optic และอื่นๆ

3.10 ชนิดของโปรโตคอล 

3.10.1 ทีซีพีหรือไอพี (TCP/IP) โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเทอร์เนท/อินทราเนท ความจริงแล้วโปรโตคอล TCP/IP เป็นกลุ่มของโปรโตคอล หลายตัวที่ประกอบกันเป็นชุดให้ใช้งานโดยมีคำเต็มว่าTransmission Control Protocol /Internet Protocol ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีโปรโตคอลประกอบกันทำงาน 2 ตัว คือ TCP และ IP






3.10.2 เอฟทีพี (FTP) ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูก ข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดย อัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม





3.10.3 เอชทีทีพี (HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสมใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กัน





3.10.4 เอสเอ็มทีพี (SMTP) เป็นโพรโทคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 
SMTP เป็นโพรโทคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโพรโทคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS
ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น






3.10.5 พีโอพีทรี (POP3) เป็นโปรโตคอล client/sever ที่รับ e-mail แล้วจะเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่าย Internet เมื่อผู้ใช้ตรวจสอบ mail-box บนเครื่องแม่ข่ายและ ดาวน์โหลดข่าวสาร POP3 ติดมากับ Net manager suite ของผลิตภัณฑ์อินเตอร์เน็ต และ e-mail ที่ได้รับความนิยมคือ Eudora และติดตั้งอยู่ใน browser ของ Netscope และ Microsoft Internet Explorer 
โปรโตคอลตัวเลือกอีกแบบ คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) โดยการใช้ IMAP ผู้ใช้จะดู e-mail ที่เครื่องแม่ข่าย เหมือนกับอยู่ในเครื่องลูกข่าย และ e-mail ในเครื่องลูกข่ายที่ถูกลบ จะยังคงมีอยู่ในเครื่องแม่ข่าย โดย e-mail สามารถเก็บและค้นหาที่เครื่องแม่ข่าย
POP สามารถพิจารณาเป็นการบริการแบบ "store-and forward" IMAP สามารถพิจารณาเครื่องแม่ข่าย remote file server
POP และ IMAP เกี่ยวข้องกับการรับ e-mail และอย่าสับสนกับ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) ซึ่งเป็นโปรโตคอล สำหรับการส่ง e-mail ข้ามอินเตอร์เน็ต การส่ง e-mail ใช้ SMTP และการอ่านใช้ POP3 หรือ IMAP
หมายเลขและพอร์ต สำหรับ POP3 คือ 110








3.11 การถ่ายโอนข้อมูล

3.11.1 การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน (Parallel transmission) ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน ระยะทางของสายสัญญาณแบบขนานระหว่างสองเครื่องไม่ควรยาวเกิน 100 ฟุต

3.11.2 การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม (Serial transmission)


3.12 การถ่ายโอนข้อมูลแบบนุกรม อาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง ได้ 3 แบบคือ
3.11.2 สื่อสารทางเดียว (simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
3.11.2 สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา (half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3.11.2 สื่อสารสองทางเต็มอัตรา (full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น



ข้อแตกต่างของ Trailer กับ Teaser


ข้อแตกต่างของ Trailer กับ Teaser


Trailer (เทรลเลอร์)

        ที่เค้าเรียกว่า trailer ก็เพราะว่าเมื่อก่อนมันจะฉายหลังหนังจบ แต่ปัจจุบันเค้าเอามาฉายก่อนหนังเล่น นั่นก็คือ “หนังตัวอย่าง” ที่เราคุ้นกันดีนี่เอง เป็นโฆษณาหนังหรือตัวอย่างหนังสั้นๆ ของหนังที่กำลังจะเข้าฉาย   ปกติ Trailer จะตัดเอาเฉพาะบางฉากของหนังที่คิดว่าน่าสนใจและทำให้คนดูอยากติดตามต่อ เช่นฉากที่น่ากลัวที่สุด ฮาที่สุด และโดยปกติความยาวของ trailer จะไม่เกิน 2 นาทีครึ่ง (แต่ถ้าเป็นหนัังฟอร์มใหญ่ อาจจะได้ทำยาวกว่านี้)

        Trailer บางเรื่องจะทำฉากพิเศษขึ้นมา เพื่อการโฆษณาโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่มีฉากนี้ให้เห็นในหนังจริงๆ เพราะการทำ trailer มักจะทำกันในช่วงที่ยังถ่ายทำหนังอยู่หรือไม่ก็ทำในช่วงที่กำลังตัดต่อใน studio


Teaser (ทีเซอร์)

      ก็เป็น trailer สั้นๆ เพื่อใช้โฆษณาหนังที่กำลังจะเข้าฉายเหมือนกันกับ trailer แต่ความยาวจะน้อยกว่า (แค่ประมาณ 30-60 วินาที) เลยมีเนื้อหาไม่เยอะมาก บางทีก็เป็น version ที่ตัดมาจาก trailer ดังนั้น teaser ก็มักจะทำเสร็จก่อนและทำออกมาฉายก่อน trailer นั่นเอง

     แล้วก็มักจะทำเฉพาะหนังฟอร์มใหญ่ที่มีเงินสร้างเยอะๆ เนื้อหาส่วนมากจะไม่ค่อยบอกให้เรารู้ว่าหนังเกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหายังไง แต่จะบอกว่าหนังจะเข้าฉายเมื่อไหร่มากกว่า ส่วนมากจะเอาไว้ให้ดูหรือดาวน์โหลดทางอินเตอร์เน็ต แล้วหลังจากนั้นก็จะมี trailer ตามมา   ที่เห็นได้ชัดๆ ก็เช่นเรื่อง spiderman 3 สั้นมาก ถ่ายแค่รูปพระเอกในชุดแมงมุม แล้วก็บอกว่าจะเข้าฉายเมื่อไหร่ เห็นมะ ไม่มีเนื้อหาอะไรเลย แต่ทำออกมาสั้นๆ แบบนี้ ก็สามารถเอาไปโปรโมทก่อนหนังเข้าได้นานกว่า บางทีออกมาก่อนหนังเข้าเป็นปี (บางทีทำ teaser ออกมาก่อนที่จะถ่ายทำหนังกันจริงๆ ด้วยซ้ำ ก็เพื่อที่จะเอามาโปรโมทล่วงหน้าไงล่ะ)



ถ้าเป็นแผ่น DVD ส่วนมากก็จะมีมาให้ดูทั้ง Trailer และ Teaser  เวลาไปดูหนังตัวอย่าง ถ้าเป็นฝรั่งเค้ามักจะพูดว่า ไปดู trailer กัน แต่ถ้าคนไทยมักจะพูดว่า ไปดู teaser กัน ฉะนั้นอยากพูดอะไรก็ไม่ผิดหรอก เพราะบางทีมันฉายทั้งสองอย่าง และบางทีมันก็คืออันเดียวกัน



เทคนิคการเลือกกล้องและการถ่ายให้ประทับใจ

สัมภาษณ์พี่วินัย 
ผู้ช่วยสาขาภาพยนตร์ 
มหาวิทยาลัยรังสิตในเรื่องของกล้องวิดีโอ


เนื่องจากในปัจจุบันมีกล้องวิดีโอจำนวนมาก และความสามารถที่แตกต่างกันไป แต่อยากจะแนะนำให้ซื้อกล้องที่เหมาะสมกับผู้ใช้จริงเพราะต่อให้คนที่ถ่ายถ่ายไม่เก่งแต่ใช้กล้องโดยไม่เทคนิคการถ่ายวิดีโอก็จะทำงานนั้นกลายเป็นขยะโดยปริยาย  และดังนั้นหัวข้อที่จะสัมภาษณ์ก็จะสัมภาษณ์หลักการเลือกซื้อและเทคนิคการถ่ายวิดีโอให้ผู้ชมประทับใจ



ทคนิคการเลือกซื้อกล้องวิดีโอควรดูจากอะไรบ้างคะ ???


พี่วินัย :กล้องวิดีโอก็จะมีหลากหลาย มีหลายยี่ห้อหลายขนาดหลายชนิด ก็ต้องมาดูกันที่ความคมชัดว่ากล้องสามารถถ่ายด้วยความความชัดมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับความละเอียดของพิกเซล ถ้ากล้องตัวไหนมีความคมชัดสูงความละเอียดพิกเซลมาก ถ้าถ่ายออกมาก็จะได้รับความคมชัดที่สูง ซึ่งตอนนี้ก็เป็นระบบ ไฮเดฟ ฟินิชั่นกันหมดแล้ว ถ้าความคมชัดสูงแน่นอนราคาก็ต้องสูงไปด้วย เพราะฉะนั้นเวลาที่เราเลือกซื้อก็ต้องเลือกตามความเหมาะสมของงานที่นำไปใช้ ถ้าสมมุติเป็นงานถ่ายเล็กน้อยๆก็คงไม่ต้องซื้อกล้องขนาดที่ระดับอาฃีพต้องเป็นอาชีพก็ซึ่งกล้องที่มีความคมชัดพอสมควร แต่ในปัจจุบันส่วนมากก็เป็น High Definition ไปหมดแล้ว จะ hidelf มากน้อยขนาดไหนก็ขื้นอยู่กับคุณภาพของกล้องตัวนั้นๆ



เทคนิคการถ่ายวิดีโอให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจ


พี่วินัย : ในกรณีที่เราจะถ่ายกล้อง ถ่ายวิดีโอให้ออกมาดี 1.ปรับไวท์บาล้าน ของแสงก่อน หมายความว่าปรับแสงให้สีถูกต้องตาม สายตาที่สายตาเรามองเห็น ถ้าเราไม่ปรับ White balance เวลาเราไปถ่ายสีจะเพี้ยน สีขาวอาจจะเป็นสีฟ้า ซึ่งมันจะไม่ตรงกับความเป็นจริง กระบวนการทำงานของ white balance ก็จะมีแต่ละตัวกล้อง พอปรับไวท์บาลานแล้ว ก็จะมาดูแสงที่เข้ามา ถ้าแสงเข้ามาในเฟรมของเรามากไป
จะเรียกว่า Over รายละเอียดของภาพจะมองไม่เห็น ต้องใช้วิธีการปรับสปีดชัดเตอร์ของกล้อง ให้เร็วขึ้น แสงจะได้เข้าในกล้องน้อยลง หรือปรับ F แคบ แสงจะเข้าได้น้อย ( ค่า f น้อย รูรับแสงจะกว้าง ค่า f มากรูรับแสงจะแคบ )ในกรณีกลับกันถ้าเราไปถ่ายในสถานที่ๆมืด ไม่ถึงกับมืดมาก หรือแสงสลัวๆ โดยที่เราไม่มีไฟไปช่วย เราสามารถปรับกล้องให้ช่วยในการรับแสงมากขึ้นโดยปรับ สปีตชัดเตอร์ให้ต่ำลง แสงก็จะเข้าได้มาก แต่มีข้อเสียคือภาพจะกลายเป็นเส้นจะทำให้ไม่เป็นธรรมชาติ คือปรับได้สองที่คือสปีตชัดเตอร์และ F สตอป วิธีการปรับแสงอีกอย่างก็คือยกเกนขึ้นมี สามระดับ low ต่ำ Medium กลาง High สูงก็ช่วยเพิ่มแสงได้เพิ่มขึ้นอีก 3 ระดับ เมื่อเราปรับไวท์บาล้านได้ และควบคุมแสงไม่ให้โอเว่อร์ ไม่ให้อันเดอร์ โดยการปรับสปีตชัดเตอร์หรือ f สตอปหรือเกรน 3 ระดับ HIGH MEDIUM LOW เมื่อควบคุมแสง สี ได้ ถ่ายภาพเป็นแบบไหน ถ้าถ่ายภาพคนเดียวจะจับขนาดของภาพก็ มี Long shot, Medium Shot, Close Up, Big Close up, Extreme Close Up, Extreme Long Shot ขึ้นอยู่กับว่าเราจะถ่าย จะต้องการภาพแบบไหน เราต้องมาดีไซน์ต้องมีทักษะมีการฝึกฝน และก็ขึ้นอยู่กับการ PAN ซ้าย ขวา ทิวอัพ ดาวน์หรือแทกกิ้ง เคลื่อนกล้องไปข้างหน้า ถอยกล้องออกมาข้างหลัง ดอลลี่ซึ่งจะมีเทคนิควิธีการอีกเยอะแยะมากมายที่จะทำให้ภาพออกมาน่าสนใจซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ ฝึกฝน ทำถูกทำผิดก็จะได้ประสบการณ์ ซึ่งมันต้องใช้เวลา

เพิ่มลูกเล่นด้วย Snapshot ทำภาพแนะนำตัว


เพิ่มลูกเล่นด้วย Snapshot ทำภาพแนะนำตัว









เจาะลึกชีวิต 'น้องปราง' แอดมิชชั่นสูงสุดในประเทศ ใครอยากเก่งมาทางนี้!




เจาะลึกชีวิต 'น้องปราง' แอดมิชชั่นสูงสุดในประเทศ 

ใครอยากเก่งมาทางนี้! 


    "ปราง" หรือ "ศิรดา ไตรตรึงษ์ทัศนา" สาวน้อยวัย 18 ปี นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ผู้ที่แอดมิชชั่นติดคณะนิเทศศาสตร์ สาขาภาพยนตร์-โฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยคะแนน 91.60 ได้กล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้นว่า  "ตนและครอบครัวรู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก ที่สอบติดคณะนิเทศศาสตร์ และได้คะแนนสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ตั้งใจว่าในอนาคตอยากทำงานด้านภาพยนตร์ หรือครีเอทีฟโฆษณา คิดว่าน่าจะได้รับความรู้และประสบการณ์เพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพที่ดี" 





            ติว ติว และก็ติว  ปรางไม่เคร่งเครียดขนาดนั้น ไม่ได้ติวตลอดค่ะ สบายๆ แต่รู้ว่าจุดไหนต้องซีเรียส จุดไหนต้องเล่น เราชอบศิลปะ เราชอบความสวยงาม ชอบความน่ารัก ปรางเอาตรงนี้มาช่วยในเรื่องเรียน ปรางทำให้เรื่องเรียนเป็นเรื่องสนุก ไม่น่าเบื่อแบบที่ทุกคนคิด คือปรางมีความสุข ถึงคนอื่นจะไม่เป็น แต่ปรางมีความความสุข เวลาอาจารย์พูดแล้วปรางก็นั่งจด 

    มุมมองเรื่องความเก่ง ปรางคิดว่า เป็นเรื่องของการแบ่งโหมดของตัวเองมากกว่า คือปรางเอง ถ้าเรียนก็จะเครียดไปเลย บางทีคุณพ่อเห็น ก็จะแบบว่าทำไมดูเครียดจัง แต่ที่ปรางเครียดเพราะว่า ปรางปรับโหมดแค่ช่วงนึง แต่พอสอบเสร็จ คุณพ่อก็จะแปลกใจ ทำไมเปลี่ยนโหมดเร็ว ทำไมมาดูหนังแล้วประมาณนี้ คือปรางก็จะแบบเรียนเป็นเรียน เวลาเล่นก็จะเล่นจริงๆ เล่นแบบจะไม่แตะหนังสือเรียน ตอนซัมเมอร์จะไม่มีการแบบ ขึ้น ม.6 จะต้องอ่านหนังสือก่อน ไม่มีเลยคะ คือเราต้องพักผ่อนให้เต็มที่ เพราะว่าพอเราพักเต็มที่ เราจะรู้สึกเบื่อ รู้สึกว่าเราควรจะทำอะไรแล้วนะ พอเปิดเทอม เราก็จะทำเต็มที่มาก เราจะตั้งใจมาก พอเราทำเต็มที่แล้ว เราก็จะอยากพัก มันก็จะมันก็จะเป็นช่วงของมัน คือเราต้องรู้จักตัวเอง ว่าชอบแนวไหน 







      ค้นตัวเองให้เจอ มันเกิดมาจากเรื่องของสีสัน เริ่มตั้งแต่ ม.2 คือเรียนชีวะแล้ว ก็มีเลือดดำเลือดแดง ก็ต้องไปซื้อปากกาสี แล้วมานั่งวาดรูปหัวใจ หัวใจก็จะสีแดงไม่ได้ เพราะมันมีเลือดแดงแล้ว อ่ะปากกาสีที่ 3 เริ่มมา อย่างตับเป็นสีอะไร ก็ต้องไปซื้ออีกอะไร แบบนี้ เหมือนกับมันค่อยๆ มาเรื่อยๆ

   เมื่อคุณพ่อ-คุณแม่เป็นหมอ  คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้เคร่งเลย ไม่ได้แบบว่าต้องเป๊ะๆ 2 ทุ่มนอนไรงี้ ไม่มี จริงๆ คุณพ่อเป็นคนชวนดูหนังถึง 4 ทุ่ม 5 ทุ่ม โดยเฉพาะคืนวันศุกร์ บางทีปรางก็บอกคุณพ่อว่า อยากเรียนพิเศษ คุณพ่อบอกว่า อย่าเรียนเลย ไปเที่ยวกันเถอะ ครอบครัวปรางก็เลยไม่เครียดค่ะ เพราะปรางจะเป็นคนร่าเริง สบายๆ ตลกๆ ไม่ได้ซีเรียสอะไรขนาดนั้น แบบที่ทุกคนคิดเลย

   ไลฟ์สไตล์ส่วนตัว วันธรรมดา วันหยุด ปรางก็นัดเพื่อนออกไปกินข้าวบ้าง ไปถ่ายรูป บางครั้งออกจากบ้านหลายวันแล้วเหนื่อย ก็จะอยู่บ้านดูเกมโชว์ ดูทีวี ไม่ก็เล่นเกมกับน้อง และก็ดูซีรีส์ ซีรีส์นี่ดูได้หมดค่ะ ทั้งต่างประเทศ ทั้งเกาหลี แต่ปรางชอบซีรีส์ฝรั่งมากกว่า และก็อ่านหนังสือ

   มาถึงเรื่องเรียน "นิเทศศาสตร์" จริงๆ เกี่ยวกับนิเทศ เมื่อก่อนเป็นงานอดิเรกของปราง คือปรางชอบถ่ายรูป และก็ชอบเอารูปมาทำสื่อขำๆ ให้เพื่อนทำวิดีโอตลกๆ พอมาตอน ม.4 มีโปรเจกต์วิชาคณิตศาสตร์ให้ทำเป็นเหมือนวิดีโอหรือพรีเซนต์หน้าห้อง ตอนนั้นทุกคนก็จะอายมาก ทุกคนจะทำเป็นวิดีโอหมดเลย แล้วทีนี้ปัญหาคือในกลุ่มของปราง ก็จะไม่มีใครยอมตัดต่อวีดีโอ คือปรางก็เลยอาสา แล้วก็ลองไปโหลดโปรแกรมมาแล้วศึกษาด้วยตัวเอง ตอนแรกก็ไม่เป็น แต่ถ้าทำได้มันก็เจ๋ง ก็สนุกค่ะ หลังจากนั้น ก็เริ่มหาเรื่องทำ เหมือนกับเวลาไปเที่ยวก็จะเอารูปเพื่อนๆ มาตัดต่อตลกๆ ใครทำหน้าเหวอๆ ก็ประกอบเพลงตลกๆ สุดท้ายพอขึ้น ม.6 ก็อยากจะทดสอบฝีมือตัวเองว่าดีไหม ก็เลยไปประกวดเอ็มวีของธรรมศาสตร์ แล้วก็ได้รางวัล ทีน ซอยส์ อวอร์ด มา ซึ่งเราทำเอง คิดเอง เลยรู้สึกว่ายิ่งทำยิ่งสนุก ต่อให้ไม่ได้นอน ทำจนถึงดึกแล้วต้องส่งพรุ่งนี้ ก็สนุก