วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวอย่างการออกแบบ



 ประเภทของการออกแบบ 


     1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design)
เป็นการออกแบบเพื่อ การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่
                - สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า โบสถ์ วิหาร ฯลฯ
                - สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
                - สถาปัตยกรรมภายใน เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
                - งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
                - งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ





        2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ ผลิตภัณฑ์ งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
                - งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
                - งานออกแบบครุภัณฑ์
                - งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
                - งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
                - งานออกแบบเครื่องประดับ อัญมณี
                - งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
                - งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
                - งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ ฯลฯ





        3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้ ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต บางอย่างต้องทำงาน ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
                - งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
                - งานออกแบบเครื่องยนต์
                - งานออกแบบเครื่องจักรกล
                - งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
                - งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ ฯลฯ





        4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design)
เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร (Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
                - งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
                - งานตกแต่งภายนอก (Exterior Design)
                - งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
                - งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
                - การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
                - การจัดบอร์ด
                - การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น ฯลฯ





        5. การออกแบบสิ่งพิมพ์ (Graphic Design)
เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์ ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ นามบัตร บัตรต่าง ๆ งานพิมพ์ลวดลายผ้า งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ งานออกแบบรูปสัญลักษณ์ เครื่องหมายการค้า ฯลฯ








ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ 2 มิติ


การออกแบบ 2 มิติ

               มิติในการออกแบบ  หมายถึงลักษณะของขนาดกว้าง  ยาว  สูง ต่ำและลึก  ของวัตถุสิ่งของ  หรือสิ่งก่อสร้างที่ต้องการออกแบบ  งานออกแบบอาจใช้มิติ   ที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมกับงานได้  ดังนี้

              การออกแบบ 2 มิติ คือการออกแบบที่เขียนลงบนแผ่นกระดาษ   ผ้าใบ  หรือวัสดุอื่นที่มีพื้นระนาบเรียบ   แสดงความกว้าง  ยาว  สูง  ต่ำ  ของวัตถุสิ่งของ  หรือทิวทัศน์ ดูแล้วมีระยะใกล้ ไกล ให้ความลึกสมจริง ส่วนประกอบที่ทำให้เกิดความสมจริงมีหลายอย่าง คือ

1. รูปทรงธรรมชาติ  เช่น  คน  สัตว์  สิ่งของที่มนุษย์เคยชิน   เพราะพบเห็นอยู่เสมอในชีวิตประจำวันวัน   ในการเขียนแบบถึงแม้จะเขียนเพียงเส้นรอบนอก  เพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องแสดงปริมาตรหรือความตื้น  ลึก  หนา บาง  ก็มีความรู้สึกว่ารูปที่เขียนมีปริมาตร

2. เส้นและทิศทางของเส้นต่าง ๆ จะสร้างความรู้สึกแตกต่างกัน  เส้นที่ขนานกันบนแผ่นภาพจะให้ความรู้สึกเป็น  2  มิติ  ส่วนเส้นเฉียงหรือเส้นทแยง  ทำให้ผู้ดูรู้สึกว่า ภาพนั้นมีความลึกมีระยะเป็น 3 มิติ  โดยเฉพาะเส้นเฉียงที่มีลักษณะโค้งจะยิ่งให้ความรู้สึกว่ารูปนี้มีความลึกมากขึ้น

3. น้ำหนักอ่อนแก่หรือความหนักเบาของเส้น   เส้นที่มีน้ำหนักเข้มจะให้ความรู้สึกที่ อยู่ใกล้กว่าเส้นที่มีน้ำหนักอ่อน

4. ขนาดของรูปทรง  ขนาดต่าง ๆ  ของรูปทรงมีผลต่อความรู้สึกใกล้ไกล  รูปทรงที่มีขนาดใหญ่จะให้ความรู้สึกอยู่ใกล้   ส่วนรูปทรงที่มีขนาดเล็กกว่าจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ไกล

5.  ความคมชัด ความคมของเส้นหรือรูปทรงให้ความรู้สึกใกล้  ไกล   แตกต่างกันเส้นหรือรูปทรงที่มีความคมชัดมากจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ใกล้  ส่วนเส้นหรือรูปทรงที่มีความคมชัดน้อย จะให้ความรู้สึกว่าอยู่ไกลออกไป

6.  การซ้อนกัน  รูปร่างหรือรูปทรงที่อยู่ข้างหน้าจะให้ความรู้สึกใกล้   ส่วนรูปร่าง หรือรูปทรงที่อยู่ซ้อนกันกับส่วนที่ถูกซ้อนจะให้ความรู้สึกไกลออกไป


7.  ความเข้มของสี   รูปร่างหรือรูปทรงที่มีสีเข้มจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ใกล้  ส่วนสีที่หม่น
หรือจางลงจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ไกลออกไป 

8.  ลักษณะผิว  ลักษณะผิวหยาบจะให้ความรู้สึกอยู่ใกล้  ส่วนลักษณะผิวที่ละเอียดจะให้ความรู้สึกว่าอยู่ไกลออกไป

9.  เส้นเดินทางทัศนียวิทยา   การสร้างเส้นดินทางในลักษณะเหมือนจริงโดยใช้หลักทัศนียวิทยา จะสร้างความรู้สึกให้มีระยะใกล้  ไกล  ของรูปร่างและรูปทรงต่าง ๆ       


ตัวอย่างโปรแกรมการออกแบบ  2 มิติ

                  



ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)


ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)

 


     การออกแบบ 3 มิติ คือ การออกแบบที่มีลักษณะของชิ้นงานออกมามีรูปทรงวัตถุเหมือนจริงสัมผัสได้ มีความกว้าง ยาว สูง ต่ำ หนา บาง มีบรรยากาศล้อมรอบ เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ในชั้นของการทำหุ่นจำลอง ( Model ) การผลิตที่เป็นผลิตภัณฑ์จริงสำเร็จรูปการออกแบบสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งก่อสร้าง อาคาร สถานที่ บ้านเรือน ศาสนสถานสถานเป็นต้นสิ่งเหล่านี้เป็นการออกแบบ 3 มิติ 
 
        1. การสร้างงาน 3 มิติ เป็นรูปทรงเรขาคณิต รูปทรงเรขาคณิต เช่น รูปทรงสามเหลี่ยม รูปทรงสี่เหลี่ยม รูปทรงหกเหลี่ยม รูปทรงกลม สามารถสร้างเป็นรูปทรงจริงหรือหุ่นจำลองได้ โดยออกแบบ เขียนภาพคลี่ ( Pattern Development ) ก่อนแล้วนำไปสร้างเป็นรูปทรงจริง ดังภาพตัวอย่าง 

        2. การสร้างงาน 3 มิติ เป็นรูปทรงประติมากรรม ประติมากรรม คือ งานศิลปะที่สร้างขึ้น โดยวิธีการปั้น แกะสลัก และวิธีอื่นมีลักษณะเป็นรูปทรงที่สามารถสัมผัสได้ด้วยมือแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ 
                2.1 ประติมากรรมลอยตัว ( Round Relief ) คืองานศิลปะที่มีรูปทรงลอยตัว มีอากาศอยู่โดยรอบ
                2.2 ประติมากรรมนูน คือประติมากรรมที่นูนสูงขึ้นมาจากพื้นผิวประมาณครึ่งตัวถ้านูนสูงขึ้นมามากเรียกว่าประติมากรรมนูนสูง (High Relief) ถ้านูนสูงขึ้นมาเพียงเล็กน้อยเรียกว่า ประติมากรรมนูนต่ำ ( Low Relief )


ตัวอย่างโปรแกรมการออกแบบ 3 มิติ




















เทคโนโลยีสะอาด



เทคโนโลยีสะอาดคืออะไร


        
   เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT)    หมายถึง  การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป

หลักการของเทคโนโลยีสะอาด

        เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นหลักการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) ที่ใช้หลักการลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) โดยวิธีการแยกสารมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นยังต้องประกอบด้วยทัศนคติที่ดีและการร่วมมือกันอย่างเต็มที่จากบุคคลากรทุกฝ่ายอีกด้วย