วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

HTML

HTML คืออะไร?

        

       HTML  (ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language)   เป็นภาษาประเภท Markup Language ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ   มีแม่แบบมาจากภาษา SGML (Standard Generalized Markup Language) ที่ตัดความสามารถบางส่วนออกไป เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจและเรียนรู้ได้ง่าย   ปัจจุบันมีการพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C)

___________________________________



โครงสร้างพื้นฐานของ HTML



       โครงสร้างของ HTML จะประกอบไปด้วยส่วนของคำสั่ง 2 ส่วน คือ 

1.ส่วนที่เป็น ส่วนหัว (Head)    
2.ส่วนที่เป็นเนื้อหา (Body) 



โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้



การจัดโครงสร้างแฟ้มเอกสาร

                 ในความง่ายของภาษา HTML นั้นเพราะภาษานี้ไม่มีโครงสร้างใด ๆ มากำหนดนอก จากโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น
หรือ แม้แต่จะไม่มีโครงสร้าง พื้นฐานอยู่ โปรแกรมที่เขียนขึ้นมานั้นก็สามารถทำงานได้เสมือนมี โครงสร้างทั่งนี้เป็นเพราะว่าตัวโปรแกรม
เว็บเบราเซอร์ จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างในโปรแกรม HTML เป็นส่วนเนื้อหาทั้งสิ้น
                  ยกเว้นใน ส่วนหัว ที่ต้อง มีการกำหนด แยกออกไปให้ เห็นชัดเท่านั้น จะเขียน คำสั่ง หรือ ข้อความที่ ต้องการ ให้แสดง อย่างไรก็ได้
เป็นเสมือนพิมพ์งานเอกสารทั่ว ๆ ไปเพียง แต่ ทำตำแหน่ง ใดมีการ ทำตำแหน่ง พิเศษขึ้นมา เว็บเบราเซอร์ถึงจะแสดงผล ออกมาตามที่
ถูกกำหนด โดยใช้คำสั่งให้ตรงกับ รหัสที่กำหนดเท่านั้น
การแสดงผลที่เว็บเบราเซอร์

                   หลังจากมีการพิมพ์โปรแกรมนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้บันทึกเป็น ไฟล์ที่มีนามสกุล .htm หรือ .html จากนั้นให้เรียกโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ขึ้นมาทำการทดสอบ ข้อมูลที่เราสร้างจะถูก นำมาที่ออกมาแสดงที่จอภาพ ถ้าไม่เขียนอะไรผิด บนจอภาพก็จะแสดงผลตามนั้น
ถ้าเรามีการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในโปรแกรมเดิม ให้อยู่ในรูปของ โปรแกรมใหม่ ก็จำ เป็นต้องโหลดโปรแกรมขึ้นมาใหม่ เพียงแต่เลื่อนเมาส์
ไปคลิกที่ปุ่ม Refresh โปรแกรมก็จะทำการ ประมวลผลและแสดงผลออกมาใหม่ ในคำสั่ง HTML ส่วนใหญ่ใช้ตัวเปิด เป็นเครื่องหมายน้อยกว่า
< ตามด้วยคำสั่ง และปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า > และมีตัวปิดที่มีรูปแบบเหมือนตัวเปิดเสมอ เพียงแต่จะมีเครื่อง หมาย / อยู่หน้าคำสั่งนั้นๆ เช่น คำสั่ง <BODY> จะมี </BODY> เป็นคำสั่งปิด เมื่อใดที่ผู้เขียนลืมหรือพิมพ์คำสั่งผิด จะส่งผลให้การทำงานของโปรแกรมผิดพลาดทันที



คำสั่งเริ่มต้นสำหรับ HTML  

                    คำสั่งหรือ Tag ที่ใช้ในภาษา HTML ประกอบไปด้วยเครื่องหมายน้อยกว่า <ตามด้วย ชื่อคำสั่งและปิดท้ายด้วยเครื่องหมายมากกว่า
> เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ตกแต่งข้อความ เพื่อ การแสดงผลข้อมูล โดยทั่วไปคำสั่งของ HTML ส่วนใหญ่จะอยู่เป็นคู่ มีเพียงบาง คำสั่งเท่านั้น
ที่มีรูปแบบคำสั่งอยู่เพียงตัวเดียว ในแต่ละคำสั่ง จะมีคำสั่งเปิดและปิด คำสั่งปิดของแต่ละ คำสั่งจะมี รูปแบบเหมือนคำสั่งเปิด เพียงแต่จะเพิ่ม /
(Slash) นำหน้าคำสั่ง ปิดให้ดู แตกต่าง เท่านั้น และในคำสั่งเปิดบางคำสั่ง อาจมีส่วนขยายอื่นผสมอยู่ด้วย ในการเขียน ด้วยตัวอักษร
เล็กหรือใหญ่ ทั้งหมดหรือเขียนปนกันก็ได้ ไม่มีผลอะไร

คำสั่งเริ่มต้น

รูปแบบ   <HTML>.....</HTML>
คำสั่ง <HTML> เป็นคำสั่งเริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม และ </HTML>เป็นคำสั่งจุดสิ้นสุดโปรแกรมเหมือนคำสั่ง Beign และ End ใน Pascal
คำสั่งการทำหมายเหตุ

รูปแบบ <!-- ..... -->
ตัวอย่าง <!-- END WEBSTAT CODE -->   ข้อความที่อยู่ในคำสั่งจะปรากฎอยู่ในโปรแกรมแต่ไม่ถูกแสดง บนจอภาพ
ส่วนหัว 

รูปแบบ <HEAD>.....</HEAD>
ใช้กำหนดข้อความ ในส่วนที่เป็น ชื่อเรื่อง ภายในคำสั่งนี้ จะมีคำสั่งย่อย อีกหนึ่งคำสั่ง คือ <TITLE>
กำหนดข้อความในไตเติลบาร์

รูปแบบ
 <TITLE>.....</TITLE>
ตัวอย่าง <TITLE> บทเรียน HTML </TITLE>
เป็นส่วนแสดงชื่อของเอกสาร จะปรากฎ ขณะที่ไฟล์ HTML ทำงานอยู่ ข้อความ ที่กำหนด ในส่วนนี้ จะไม่ถูกนำไปแสดง ผลของ เว็บเบราเซอร์แต่จะปรากฎในส่วนของไตเติบาร์ (Title bar) ที่เป็นชื่อของวินโดว์ข้างบนไม่ควรให้ยา เกินไป เพียงให้รู้ว่าเว็บเพจที่กำลัง ใช้งานอยู่เกี่ยวข้องกับอะไร
ส่วนของเนื้อหา

รูปแบบ
 <BODY>.....</BODY>
ส่วนเนื้อหาของโปรแกรมจะเริ่มต้นด้วย คำสั่ง <BODY> และจบลงด้วย </BODY> ภายในคำสั่งนี้ คือ ส่วนที่จะ แสดงทางจอภาพ 

__________________________________

การเติมสีสันให้เอกสาร

ผลการแสดง ที่เกิดขึ้น บน เว็บเพจ เราจะพบว่าเอกสาร 
ทั่วไปแล้วตัวอักษร ที่ปรากฎ บนจอภาพ จะเป็นตัวอักษรสีดำ 

    บนพื้น สีเทา ถ้าเรา ต้องการ ที่จะ เปลี่ยนสี ของตัวอักษร หรือ สีของ จอภาพ เราสามารถ ทำ ได้โดย การกำหนด แอตทริบิวต์ (Attribute) ของตัวอักษร สิ่งที่ต้องการนี้ จะเป็น กลุ่มตัว เลขฐาน 16 จำนวน 3 ชุด โดยชุดที่ หนึ่ง ทำหน้าที่ แทนค่าสีแดง ชุดที่สอง ทำหน้าที่ แทนสีเขียว และชุดที่สาม ทำหน้าที่แทนสี น้ำเงิน ข้อมูล ในตาราง ต่อไปนี้จะแสดง สีพื้นฐาน และรหัสสี ที่สามารถแสดงได้ทุกเว็บเพจ 


สี
สี
รหัสสี
ขาว
#FFFFFF
ดำ
#000000
เทา
#BBBBBB
แดง
#FF0000
เขียว
#00FF00
น้ำเงิน
#0000FF


     ในบางครั้งถ้าเราไม่ต้องการใส่รหัสสีเป็นเลขฐานเราก็สามารถใส่ชื่อ สีลงไปได้เลย ตัวอย่างต่อไปนี้
แสดงชื่อสีที่ Internet Explorer สนับสนุนแต่ Netscape ไม่สนับสนุน
AQUA
BULE
GRAY
LIME
NAVY
PURPLE
SILVER
WHITE (สีขาว)
BLACK
FUCHSIA
GREEN
MAROON
OLTVE
RED
TEAL
YELLOW
 

สีของพื้นฉากหลัง 
รูปแบบ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="#FF0000"> 
เราใช้ BGCOLOR=#สีที่ต้องการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของ <BODY> ซึ่งจะทำให้เกิดสีตามที่เราเลือก ลักษณะเป็นฉากสีอยู่ข้างหลัง
สีของตัวอักษรบนเว็บ 
รูปแบบ Text=#รหัสสี
ตัวอย่าง <BODY TEXT="#00FF00">
เรากำหนดเช่นเดียวกับการทำสีของพื้นฉากหลังโดยให้เป็นส่วน หนึ่งของ <BODY> แต่ในการใส่รหัสสีนั้นเร าต้องดู ให้เหมาะสมกับฉากหลังด้วยเช่น <BODY TEXT="#00FF00"> ในการ ทำสีของ ตัวอักษรนี้สีจะปรากฎบนเว็บเปราเซอร์ เป็นสีเดียวตลอด
สีของตัวอักษรเฉพาะที่ 
รูปแบบ <FONT COLOR="#สีที่ต้องการ">...</FONT>
ตัวอย่าง <font color="#FF0000">สีแดง</font> 
คำสั่งนี้เราใช้ในการเปลี่ยนสีของตัวอักษรในส่วนที่เราต้องการให้เกิดสีสันแตกต่างไปจากสีตัวอักษร อื่น ๆ เช่น<FONT COLOR="#FF0000">สีแดง</FONT>ตัวหนังสือคำว่าสีแดงก็จะเป็นสีแดงตามที่เราต้องการทันที


สีของตัวอักษรที่เป็นจุดคลิกเมาส์
รูปแบบ LINK="#รหัสสี" ALINK="#รหัสสี" VLINK"#รหัสสี"
ตัวอย่าง <BODY BGCOLOR="000000" TEXT="#F0F0F0" LINK="#FFFF00" ALIGN="#0077FF" VLINK="#22AA22">
กำหนดอยู่ในส่วนของ BODY โดยกำหนดให้
     LINK       =    สีของตัวอักษรก่อนมีการคลิก
     ALIGN    =    สีของตัวอักษรขณะถูกคลิก
     VLINK    =    สีของอักษรหลังจากคลิกแล้ว 



ตัวอย่างรหัสสี 

Aliceblue
F0F8FF
Antiquewhite
FAEBD7
Aqua
00FFFF
Aquamarine
7FFFD4
Azure
F0FFFF
Beige
F5F5DC
Bisque
FFE4C4
Black
000000
Blanchedalmond
FFEBCD
Blue
0000FF
Blueviolet
8A2BE2
Brown
A52A2A
Burlywood
DEB887
Cadetblue
5F9EA0
Chartreuse
7FFF00
Chocolate
D2691E
Coral
FF7F50
Cornflowerblue
6495ED
Cornsilk
FFF8DC
Crimson
DC143C
Cyan
00FFFF
Darkblue
00008B
Darkcyan
008B8B
Darkgoldenrod
B8860B
Darkgray
A9A9A9
Darkgreen
006400
Darkkhaki
BDB76B
Darkmagenta
8B008B
Darkolivegreen
556B2F
Darkorange
FF8C00
Darkorchid
9932CC
Darkred
8B0000
Darksalmon
E9967A
Darkseagreen
8FBC8F
Darkslateblue
483D8B
Darkslategray
2F4F4F
Darkturquoise
00CED1
Darkviolet
9400D3
deeppink
FF1493
Deepskyblue
00BFFF
Dimgray
696969
Dodgerblue
1E90FF
Firebrick
B22222
Floralwhite
FFFAF0
Forestgreen
228B22
Fuchsia
FF00FF
Gainsboro
DCDCDC
Ghostwhite
F8F8FF
Gold
FFD700
Goldenrod
DAA520
Gray
808080
Green
008000
Greenyellow
ADFF2F
Honeydew
F0FFF0
Hotpink
FF69B4
Indianred
CD5C5C
Indigo
4B0082
Ivory
FFFFF0
Khaki
F0E68C
Lavendar
E6E6FA
Lavenderblush
FFF0F5
Lawngreen
7CFC00
Lemonchiffon
FFFACD
Lightblue
ADD8E6
Lightcoral
F08080
Lightcyan
E0FFFF
Lightgoldenrodyellow
FAFAD2
Lightgreen
90EE90
Lightgrey
D3D3D3
Lightpink
FFB6C1
Lightsalmon
FFA07A
Lightseagreen
20B2AA
Lightskyblue
87CEFA
Lightslategray
778899
Lightsteelblue
B0C4DE
Lightyellow
FFFFE0
Lime
00FF00
Limegreen
32CD32
Linen
FAF0E6
Magenta
FF00FF
Maroon
800000
Mediumauqamarine
66CDAA
Mediumblue
0000CD
Mediumorchid
BA55D3
Mediumpurple
9370D8
Mediumseagreen
3CB371
Mediumslateblue
7B68EE
Mediumspringgreen
00FA9A
Mediumturquoise
48D1CC
Mediumvioletred
C71585
Midnightblue
191970
Mintcream
F5FFFA
Mistyrose
FFE4E1
Moccasin
FFE4B5
Navajowhite
FFDEAD
Navy
000080
Oldlace
FDF5E6
Olive
808000
Olivedrab
688E23
Orange
FFA500
Orangered
FF4500
Orchid
DA70D6
Palegoldenrod
EEE8AA
Palegreen
98FB98
Paleturquoise
AFEEEE
Palevioletred
D87093
Papayawhip
FFEFD5
Peachpuff
FFDAB9
Peru
CD853F
Pink
FFC0CB
Plum
DDA0DD
Powderblue
B0E0E6
Purple
800080
Red
FF0000
Rosybrown
BC8F8F
Royalblue
4169E1
Saddlebrown
8B4513
Salmon
FA8072
Sandybrown
F4A460
Seagreen
2E8B57
Seashell
FFF5EE
Sienna
A0522D
Silver
C0C0C0
Skyblue
87CEEB
Slateblue
6A5ACD
Slategray
708090
Snow
FFFAFA
Springgreen
00FF7F
Steelblue
4682B4
Tan
D2B48C
Teal
008080
Thistle
D8BFD8
Tomato
FF6347
Turquoise
40E0D0
Violet
EE82EE
Wheat
F5DEB3
White
FFFFFF
Whitesmoke
F5F5F5
Yellow
FFFF00
YellowGreen
9ACD32












วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ




องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ 

ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 


       ลองนึกดูว่า ถ้าต้องการประมวลผลรายงานการเรียนของนักเรียนได้อย่าง ถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ ระบบการจัดการสารสนเทศนั้น เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง ประการแรกคือ บุคลากรหรืออาจารย์ประจำชั้นที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรืออาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชา ประการที่สอง คือ หากมีการบันทึก ข้อมูลก็ต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติงานของอาจารย์เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง เมื่อไร อย่างไร ประการที่สาม คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องช่วยให้การทำงานให้ผลรวดเร็ว และคำนวณได้แม่นยำถูกต้อง ประการที่สี่ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยทำให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการได้ ประการสุดท้ายคือ ตัวข้อมูลที่เป็นเสมือนวัตถุดิบที่จะได้รับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นสารสนเทศตามที่ต้องการ





ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 


1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์ 

2. ซอฟต์แวร์ 

3. ข้อมูล

4. บุคลากร

5.ขั้นตอนการปฏิบัติงาน



       ส่วนประกอบทั้งห้าส่วนนี้ทำให้เกิดสารสนเทศได้ หากขาดส่วนประกอบใด หรือส่วนประกอบใดไม่สมบูรณ์ ก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศ ไม่สมบูรณ์ เช่น ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับงาน ก็จะทำให้งานล่าช้า ไม่ทันต่อการใช้งาน การดำเนินการระบบสารสนเทศจึงต้องให้ความสำคัญ กับส่วนประกอบทั้งห้านี้ 

บุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิด ระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้ 

ขั้นตอนการปฏิบัติ เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ 

เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบสารสนเทศ 

ซอฟต์แวร์ คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 


ข้อมูล เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ 




ที่มา http://www.chakkham.ac.th/

วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Responsive Web Design





ความหมายและความสำคัญของ

 Responsive Web Design


     ถ้าเป็นสมัยก่อน เราต้องทำเว็บไซต์ออกมาหลายๆ version เช่น Desktop version กับ Mobile version เพื่อให้เว็บไซต์ของเรา สามารถแสดงผลได้อย่างเหมาะสมกับ Device นั้นๆ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น ทั้งในด้านเวลาและค่าจ้างในการพัฒนา

Responsive Web Design  คือ การออกแบบเว็บไซต์ด้วยแนวคิดใหม่ ที่จะทำให้เว็บไซต์ สามารถแสดงผลได้อย่างเหมาะสม บนอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน โดยใช้ โค้ดร่วมกัน URL เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

______________________________________

หลักการของ Responsive Web Design


  1. การทำ Fluid Grid ซึ่งก็คือการออกแบบ Grid ให้เป็นแบบ Relative ซึ่งก็คือการที่ไม่ได้กำหนดขนาดของ Grid แบบตายตัว แต่จะกำหนดให้สัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆ เช่น กำหนดความกว้างแบบเป็น % หรือการใช้ font-size หน่วยเป็น em 
  2. การทำ Flexible Images หรือการกำหนดขนาดของ Images ต่างๆ ให้มีความสัมพันธ์กับขนาดของหน้าจอแสดงผล หากรูปต้นฉบับมีขนาดใหญ่มาก เวลาแสดงในมือถือที่มีจอขนาดเล็ก ก็ควรลดขนาดลงมา เพื่อให้แสดงผลได้อย่างสวยงาม 
  3. การใช้ CSS3 Media Queries ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถกำหนด style sheets สำหรับ Devices ต่างๆ ได้ โดยส่วนใหญ่ เราจะเขียน style sheets พื้นฐานเอาไว้ ซึ่งกลุ่มนี้ จะไม่ขึ้นอยู่กับ Devices ใดๆ หลังจากนั้นให้เราเขียน style sheets สำหรับ Devices ที่มีขนาดหน้าจอที่เล็กสุด เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงขนาดใหญ่สุด ซึ่งการเขียนแบบนี้จะช่วยลดความซ้ำซ้อนของโค้ดและยังทำให้การแก้โค้ดในภายหลังทำได้ง่ายอีกด้วย



__________________________________________

ข้อเสียของ Responsive Web Design


Responsive Web Design ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง เนื่องจากการเขียนโค้ดเดียว ให้รองรับหลายๆ Devices จึงอาจทำให้เกิดปัญหา เช่น โทรศัพท์มือถือที่มีหน้าจอขนาดเล็ก ถึงแม้เราจะซ่อนเนื้อหาบางส่วนที่ไม่จำเป็นเอาไว้ เช่น โฆษณา แต่ในบางเว็บบราวเซอร์ ข้อมูลเหล่านี้ยังจะถูกโหลดเข้ามาอยู่ รวมไปถึงเรื่องของ Image Resizing ที่เราไม่ได้ไปลด File Size ของตัว Image จริงๆ ทำให้โทรศัพท์มือถือจำเป็นต้องโหลดรูปเดียวกับรูปที่ใช้แสดงบน Desktop ทำให้เสียเวลาโดยไม่จำเป็น

__________________________________________


Responsive Web Design ไม่ใช่พระเจ้า!


    เพื่อนๆ คงจะเห็นแล้วResponsive Web Design มีข้อดีอย่างไร และข้อเสียอย่างไร ทุกวันนี้ คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า Responsive Web จะมาแทนที่ Mobile Web ซึ่งผมคิดว่ามันก็ยังไม่ถูกซะทีเดียว Responsive Web ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของ performance รวมไปถึงเหตุผลทางเทคนิคบางประการทำให้มันยังไม่สามารถทำในสิ่งที่ Mobile Web สามารถทำได้ทั้งหมดครับ จะเห็นได้ว่าเว็บไซต์อย่าง facebook และ youtube ยังมี Mobile Version อยู่ เพราะต้องการให้ผู้ใช้งาน ได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ซึ่ง Responsive Web ยังทำในจุดนี้ไม่ได้ทั้งหมด หากจะเปรียบกับสูท Responsive Web ก็เหมือนกับสูทแบบฟรีไซส์ ส่วน Mobile Web ก็เหมือนกับสูทแบบสั่งตัด ดังนั้น หากเพื่อนๆ คิดจะทำ Responsive Web อย่าลืมพิจารณาก่อนนะครับว่า มันตอบโจทย์ของเรามั้ย

______________________________________